นักดาราศาสตร์พบดาวเคราะห์น้อยที่มีดวงจันทร์ถึงสามดวง
ในระบบสุริยะนั้นเต็มไปดวยดวงจันทร์บริวาร โดยเฉพาะดาวเคราะห์แก๊สยักษ์ที่มีดวงจันทร์มากถึงสิบดวง ส่วนดาวเคราะห์หินนั้นมีบริวารเพียงเล็กน้อย ซึ่งโลกก็ยังมีดวงจันทร์เป็นบริวารหนึ่งดวง ดาวอังคารมีสองดวง ส่วนดาวพุธและดาวศุกร์นั้นไม่มีเลย แต่ดาวเคราะห์น้อยดวงหนึ่งกลับมีดวงจันทร์เป็นบริวารถึงสามดวง
ซึ่งดาวเคราะห์น้อยดวงนี้มีชื่อเรียกว่า 130 Elektra หรือเรียกสั้นๆว่า อิเล็กทรา ซึ่งได้ถูกค้นพบเมื่อปี 2415 โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ประมาณ 260 กิโลเมตร ดาวดวงนี้เป็นดาวเคราะห์น้อยแถบหลักซึ่งหมายความว่าเป็นดาวเคราะห์น้อยที่มีวงโคจรอยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี
โดยเรื่องที่ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้มีบริวารไม่ใช่เรื่องใหม่ ซึ่งนักดาราศาสตร์ได้พบดาวเคราะห์น้อยที่มีบริวารแล้วกว่า 150 ดวง แต่ไม่มีดาวดวงไหนที่มีลูกดกเท่าดาวดวงนี้ ซึ่งในการค้นพบครั้งนี้เป็นผลงานของคณะนักดาราศาสตร์จากสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) ที่นำโดย อ็องตอนี แบร์เดอ โดยงานวิจัยฉบับนี้ได้รับการตีพิมพ์ลงในเดอะแอสโทรฟิสิคัลเจอร์นัลเลตเตอรส์แล้ว
ในปี 2546 นักดาราศาตร์พบบริวารของอิเล็กทราดวงแรกที่มีชื่อว่า เอส/2003 (130) 1 และถัดมาอีก 11 ปี ก็ได้พบบริวารดวงที่สองที่มีชื่อว่า เอส/2014 (130) 1 โดย เอส/2003 (130) 1 นั้นมีขนาดเพียง 6 กิโลเมตร โดยโคจรรอบอิเล็กทราด้วยรัศมีวงโคจรเฉลี่ย 1,300 กิโลเมตร ส่วน เอส/2014 (130) 1 นั้นมีขนาดที่เล็กกว่ามาก ซึ่งมีความกว้างเพียง 2 กิโลเมตรและมีรัศมีวงโคจรเฉลี่ยเพียง 500 กิโลเมตร
และบริวารดวงที่สามที่ถูกพบเมื่อล่าสุดนั่นคือ เอส/2014 (130) 2 มีขนาดเล็กที่สุดและโคจรอยู่ใกล้ที่สุด ซึ่งมีขนาดเพียง 1.6 กิโลเมตร โดยโคจรด้วยรัศมีวงโคจรที่ 340 กิโลเมตร และมีความส่องสว่างเพียงหนึ่งใน 15,00 ของอิเล็กทราเพียงเท่านั้น โดยการค้นพบครั้งนี้ แบร์เดอได้ใช้ซอฟแวร์ในการประมวลผลของข้อมูลที่ได้มีการพัฒนาขึ้นมาใหม่มาใช้ในการวิเคราะห์ภาพถ่ายในคลังข้อมูลของอุปกรณ์ชื่อสเฟียร์ (SPHERE) ที่ติดอยู่บนกล้องวีแอลทีของหอดูดาวยุโรปซีกใต้ โดยระบบประมวลผลข้อมูลนี้มีความสามารถในการกรองคลื่นรบกวนและกำจัดแสงจ้าได้ดี ซึ่งภาพดวงจันทร์บริวารดวงที่สามที่เคยจมอยู่ในแสงจ้าของอิเล็กทราและดงของคลื่นรวบกวนจึงปรากฏขึ้นมาอย่างเด่นชัด
ซึ่งถึงแม้จะทราบสมบัติพื้นฐานของ เอส/2014 (103) 2 ได้บ้างแล้ว แต่ข้อมูลการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์ดวงนี้ยังคงคลุมเครือ ยิ่งไปกว่านั้นนักดาราศาสตร์ก็ยังคงไม่เข้าใจเรื่องระบบบริวารของอิเล็กทราว่าเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ซึ่งอาจเกิดจากเศษชิ้นส่วนที่กระเด็นหลุดออกมาจากการถูกชนโดยวัตถุอื่น หรืออาจเป็นวัตถุจากต่างถิ่นที่ผ่านเข้ามาใกล้แล้วถูกความโน้มถ่วงของอิเล็กทราคว้าจับเอาไว้เป็นบริวาร
อย่างไรก็ตาม แบร์เดอได้กล่าว การค้นพบนี้เป็นการเปิดทางให้นักดาราศาสตร์ได้ศึกษากลไกการกำเนิดระบบบริวารอีกหลายดวงเช่นนี้ได้และยิ่งไปกว่านั้น เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลที่เราใช้ยังอาจนำไปใช้ค้นหาบริวารดาวเคราะห์น้อยดวงอื่นได้อีกด้วย